ไม่ว่าจะวันนี้หรือวันไหนๆ หลายคนคงจะคิดถึงเรื่องการเงินอยู่เสมอ
เพราะเรื่องเงินเดี๋ยวนี้เรื่องใหญ่อย่างมากมาย เพราะเดี๋ยวนี้เงิน 100 บาท ซื้อของแค่ไม่กี่อย่างก็หมดสะและ #เฮ้ออออ แทบจะไม่ได้อะไรเลยด้วยซ้ำสิ่งที่อยากได้ก็ไม่ได้
#โอ๊ยยยยแบบนี้ไงถึงคนเราจึงต้องวางแผนเรื่องการเงินอย่างรอบครอบ ขนาดคนที่จดรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำยังพลาดได้เลย แล้วคนที่ไม่จดรายรับ-รายจ่ายล่ะจะเหลืออะไร???
วันนี้อยากรวยต้องรู้จึงมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ในการวางแผนการเงินมาฝากกัน เพื่อที่เราจะได้มีชีวิตทางการเงินที่มั่งคั่งและมั่นคงขึ้นในปีหน้า และปีต่อๆ ไป
#อยากรวยต้องรู้ #วางแผนการเงินยังไง #การเงินเพื่ออนาคต #ครอบครัวเรื่องการเงิน #แชร์วนไป
1.วางแผนให้ครบ ตามขั้นตอนการวางแผนการเงิน
ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจว่า การวางแผนการเงิน ไม่ใช่แค่การเลือกซื้อกองทุนรวม หรือประกันชีวิต ที่ผลประโยชน์ดีๆเริ่มตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างการบริหารรายรับรายจ่าย การมีเงินออม การจัดการหนี้สิน ไปจนถึงการวางแผนจัดการความเสี่ยง การลงทุนต่อยอดความมั่งคั่ง การวางแผนส่งต่อทรัพย์สิน และการจัดการภาษี ดังนั้น เราจึงควรวางแผนให้ครบทุกๆด้าน ไม่ใช่ดูแค่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง โดยให้ความสำคัญตั้งแต่เรื่องพื้นฐานก่อน แล้วค่อยๆ ไต่ระดับตามขั้น ไปจนถึงเรื่องของการวางแผนลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่ง
2.ห้ามลืมเรียงความสำคัญของเป้าหมาย
หลายคนก็อาจจะมีเป้าหมายในชีวิตเยอะมาก ทั้งเก็บเงินผ่อนบ้าน,ผ่อนรถคันใหม่,แผนการศึกษาลูก,แผนดูแลพ่อแม่ ฯลฯ ซึ่งถ้ามีเงินเหลือเฟือในการบริหารได้เต็มที่ครบทุกแผนก็คงไม่มีปัญหา แต่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้มีเพียงพอที่จะทำอย่างครอบคลุมได้ครบทุกแผน ดังนั้นเราต้องเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมายก่อนว่าความสำคัญมาก-น้อย แล้วเลือกทำแผนที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ก่อน หรืออาจค่อยกลับมาวางแผนเรื่องนั้นใหม่ เมื่อมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นก็ได้
3.ไม่ทุ่มน้ำหนักไปกับเป้าหมายด้านใดด้านหนึ่งมากจนเกินไป
เมื่อเรามีเป้าหมายหลายเป้าหมาย หรือแผนการเงินหลายแผน ก็ไม่ควรทุ่มเงินไปจัดสรรให้กับบางแผนจนเกินพอดี แต่ควรจะจัดสรรเงินไปบริหารแต่ละแผนให้เท่าๆ กัน ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ทุกแผนก็ตาม เพื่อให้อย่างน้อยการเงินของเรามีความสมดุล ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือในทางกลับกัน ก็ไม่ควรจะเน้นแต่ลงทุนเพื่อให้เงินเติบโต เป็นต้น
4.ประเมินความเสี่ยงของทุกๆ แผนอย่างรอบคอบ
ที่สำคัญในการวางแผนไม่ใช่เรื่องของการทำกำไรได้มากๆ ต้องทำให้มีเงินเยอะๆ หรือต้องถึงเป้าหมายได้เร็วๆ ดังนั้น ในทุกๆ แผน จึงควรถูกคิดมาอย่างรอบคอบ และต้องประเมินถึงความเสี่ยงของแต่ละแผน ว่าจะมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่อาจเกิดโอกาสทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้บ้าง และควรจะจัดการกับความเสี่ยงนั้นยังไง ไม่เพียงแต่เฉพาะแผนทำประกันเท่านั้น เช่น ในแผนการลงทุนของเรา เราอาจจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องของความเสี่ยงจากการลงทุนว่ามีโอกาสขาดทุนมากที่สุดขนาดไหน? เรารับไหวหรือไม่? เป็นต้น
5.ระมัดระวังเรื่องผลกระทบของแต่ละแผนต่อแผนอื่นๆ
เราควรวางแผนการเงินแบบ “องค์รวม” นั่นคือ ไม่วางแผนแค่แผนใดแผนหนึ่งเท่านั้น แต่วางแผนทุกๆ แผนตามเป้าหมายการเงินที่ต้องการพร้อมๆ กันไปทีละเรื่องเนื่องจากในการวางแผนการเงินนั้น การตัดสินใจจัดสรรเงินในแต่ละแผน ย่อมส่งผลกระทบต่อเงินที่จะจัดสรรได้ให้แผนอื่นๆ ด้วย เช่น พอเราจัดสรรเงินไปลงทุนมากขึ้น ก็อาจทำให้เราเหลือเงินสำหรับทำประกันชีวิต หรือเอาไปโปะหนี้บ้านให้น้อยลง ดังนั้น เวลาวางแผนแต่ละครั้ง เราจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าเราควรจะตัดสินใจยังไง และการตัดสินใจในแผนนี้จะกระทบแผนไหน เป็นจำนวนเท่าไหร่บ้าง
6.ทบทวนแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การวางแผนการเงิน ไม่ใช่การวางแผนเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วจะเป็นแผนที่สมบูรณ์แบบ จนสามารถยึดถือได้ไปตลอดจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ โดยส่วนมาก สถานะทางการเงินของเราก็ย่อมที่จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งพอการเงินเราเปลี่ยนไป เราก็อาจจะสามารถปรับแผนเดิมที่ทำอยู่ หรือต้องปรับเพราะความจำเป็นด้วยก็ได้ นอกจากนี้ เราก็ควรจะทบทวนแผนการลงทุนเพื่อเป้าหมายต่างๆ ที่เราวางไว้ว่ายังอยู่ในทิศทางตามแผนของเรารึเปล่าเราควรปรับแผนการลงทุน หรือเปลี่ยนสินทรัพย์ลงทุน เพื่อให้แผนการลงทุนของเรายังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และยังมีโอกาสบรรลุเป้าหมายได้เช่นเดิม
7.รู้จักยืดหยุ่นแผน
พอเราทบทวนแผนแล้ว พบว่า เราจำเป็นต้องปรับแผน หรือมีแผนอื่นๆ เข้ามาแทรกเพิ่มเติม ทำให้แผนการลงทุนหรือออมเงินแบบเดิม โดยเฉพาะการที่ไม่เหลือเงินเพียงพอ โดยทั่วไปก็จะมีวิธีการเลือกตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนแผนอยู่ 3 วิธีด้วยกัน คือ
- 1.หาเงินมาลงทุนเพิ่ม เช่น กรณีที่เราใกล้จะถึงเป้าหมายแล้ว แต่เกิดขาดทุนหนักกะทันหัน ไม่สามารถหาผลตอบแทนสูงๆ ได้ในเวลาอันสั้น ก็อาจจะจำเป็นต้องลงแรง ทำงานเพิ่ม เพื่อหาเงินมาชดเชยส่วนที่ขาดทุนไป
- 2.รับความเสี่ยงเพิ่ม เพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่คาดหวังได้ เช่น กรณีที่เราจำเป็นจะต้องลดเงินลงทุนลง หรือต้องแบ่งเงินลงทุนไปเพื่อเป้าหมายอื่น โดยที่ยังอยากคงเป้าหมายเดิมไว้ ก็อาจจะจำเป็นต้องรับความเสี่ยงจากการลงทุนมากขึ้น เพื่อให้ผลตอบแทนมีโอกาสสูงขึ้น มาช่วยชดเชยเงินลงทุนที่น้อยลง
- 3.เลื่อนเวลาเป้าหมายออกไป หรือลดเงินเป้าหมายลง การเลื่อนเวลาออกไปจะช่วยให้เรามีเวลาเตรียมเงินมากขึ้น ส่วนการลดเงินเป้าหมายลง ก็จะช่วยให้เราเตรียมเงินน้อยลง หรือคาดหวังผลตอบแทนและความเสี่ยงลดลงได้ ซึ่งจะใช้วิธีไหน ก็ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินของเราในตอนนั้น รวมไปถึงความพึงพอใจ และความสบายใจในการปรับแผนด้วย